มาตรฐานโรงสีข้าว GMP

ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ

มาตรฐานโรงสีข้าว GMP

image

สถานที่ผลิต

          ทำเลที่ตั้ง

  • สถานที่ตั้งของโรงสีข้าวต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชุมชน และมีมาตรการป้องกันไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชุมชนอันเนื่องมาจากเสียง ฝุ่นละอองข้าว และเขม่าควันไฟ จากการประกอบการของโรงสีข้าว และสำหรับโรงสีข้าวที่ตั้งใหม่ต้องเลือกทำเลที่ตั้งห่างจากชุมชน
  • ต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวเกิดการปนเปื้อน เช่น แหล่งรวมขยะ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะนำเชื้อ และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่อาจมีผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าว
  • อยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง พื้นที่ตั้งสถานประกอบการมีความคงตัว ไม่แตกหรือหดตัว จนทำให้เกิดการแตกร้าวหรือทรุดตัว
  • เลือกทำเลที่ตั้ง ที่มีพื้นที่ว่างเพียงพอ สามารถแยกพื้นที่การปฏิบัติงานออกจากสำนักงาน อาคารที่พักอาศัย บริเวณที่จอดรถ บ่อบำบัดน้ำเสียและปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็น
  • การคมนาคมสะดวกมีสาธารณูปโภค

          สถานที่ผลิต

  • พื้นที่ลดความชื้น มีพื้นเป็นคอนกรีต เรียบ สะอาด ไม่มีน้ำขังเฉอะแฉะ และสิ่งปฏิกูล กรณีเป็นลานตากข้าวเปลือก ที่พื้นไม่ใช่คอนกรีต เมื่อตากข้าวเปลือก ต้องมีวัสดุรองพื้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและการได้รับความชื้นจากพื้น
  • มีการป้องกันสัตว์เลี้ยงและสัตว์พาหะนำเชื้อ เข้าไปภายในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน และ/หรือสร้างรั้วล้อมรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนข้าวเปลือก

พื้นที่แช่ และนึ่งข้าวเปลือก

  • มีโครงสร้างทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ง่ายต่อการบำรุงรักษาและทำความสะอาด

พื้นที่เก็บข้าวเปลือก ผลิตภัณฑ์ข้าวและผลิตผลพลอยได้

  • การเก็บในสภาพปกติ คือการเก็บโดยไม่มีการควบคุมอุณภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในพื้นที่เก็บ การจัดวางข้าวเปลือกในพื้นที่เก็บ  มี 2 วิธี คือ แบบเทกอง และแบบใส่ภาชนะบรรจุ

พื้นที่ทำความสะอาดข้าวเปลือก พื้นที่กะเทาะข้าวเปลือก พื้นที่ขัดสี พื้นที่คัดแยกคุณภาพและพื้นที่บรรจุดผลิตภัณฑ์ข้าว

  • ต้องออกแบบให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับปฏิบัติงาน แยกเป็นสัดส่วนตามลำดับก่อนหลังของการปฏิบัติงาน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
  • โครงสร้างต้องแข็งแรง ทำด้วยวัสดุที่คงทน มีผิวหน้าเรียบ ไม่เป็นพิษต่อการใช้งาน สามารถทำความสะอาดและบำรุงรักษาง่าย
  • ควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับรับข้าวเปลือก และวางกระสอบข้าวที่ผ่านขัดสีแล้วเพื่อการขนส่งอย่างน้อย 5 เท่าของพื้นที่บรรจุที่ใช้งานอยู่

เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์

  • ออกแบบตัดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตให้มีขนาดเหมาะสมกับกำลังการผลิต
  • เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ที่ใช้ต้องแข็งแรง ทนทาน ทำจากวัสดุที่เหมาะสมต่อกระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอน
  • ตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ก่อนการใช้งาน โดยเฉพาะเครื่องวัดความชื้น เครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือก ไซโลเก็บรักษาข้าวเปลือก

 

ที่มา http://dric.ricethailand.go.th/images/pdf/TAS/GMP_rice_mill.pdf

ด้านบน