ประวัติพันธุ์
ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สํานักวิจัย และพัฒนาข้าว คณะเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ได้จาก การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมต่างสีพันธุ์พื้นเมืองไวต่อแสง พันธุ์มะลิแดงเบอร์ 54 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ปี 2548 ปลูกคัดเลือกพันธุ์ บริสุทธิ์แบบรวงต่อแถว 2 ครั้ง ในฤดูนาปรัง และนาปี 2549 จนได้รับข้าวสายพันธุ์มะลิแดง SRNC05054-2-1 พันธุ์ บริสุทธิ์ ที่มีเยื่อหุ้มสีแดง ผลผลิต 458 กก./ไร่ ความสูง 152 เซนติเมตร วันออกดอก 27 ตุลาคม มีคุณภาพทาง กายภาพ เคมี และการหุงต้มรับประทานดี คือ เป็นข้าว เมล็ดเรียวยาว เปอร์เซ็นต์อมิโลสต่ำ ข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม ด้านสารต้านอนุมูลอิสระพบว่ามีสาร ประกอบฟีโนลิก เมล็ดปริมาณสูง
ลักษณะประจำพันธุ์
• เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง • ความสูงของต้น 153 เซนติเมตร
• ข้าวกล้องมีสีแดง รูปร่างเรียวยาว ยาว 7.33 มิลลิเมตร กว้าง 2.15 มิลลิเมตร รูปร่าง (กว้าง/ยาว) เท่ากับ 3.42
• ข้าวสารใส ข้าวหุงสุกนุ่ม เป็นข้าวที่มีความคงตัว ของแป้งสุกอ่อน ค่าสลายในด่าง KOH 1.7 % = 7.0
• มีปริมาณอมิโลสต่ํา (15.52%)
• มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง (สารประกอบ ฟีโนลิก 2198.25 mg. GAE/100g od sample)
ข้อควรระวัง ไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวและ ควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้โดยเฉพาะ
พื้นที่แนะนํา พื้นที่ผลิตอยู่ใน 3 อําเภอ คือ อําเภอวาริชภูมิ อําเภออากาศอํานวย และอําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวหอมมะลิโกเมนสุรินทร์ อุดมด้วย “สารฟีโนลิก” ในปริมาณสูงกว่าข้าวสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งช่วยชะลอผิวหนัง ไม่ให้เหี่ยวแห้งเร็วก่อนวัยอันควร มีฤทธิ์ในการต้าน อนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ป้องกันโรคหัวใจ ปรับการทํางานของเอนโดธีเลียลเชลล์ มีสารแกรมมาออไรซานอล กระตุ้นต่อมไร้ท่อ ให้ปรับสารขับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายอย่างสม่ําเสมอ ลดอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจําเดือน กระตุ้นให้ ตับสร้างสารอินซูลิน มีไขมันดี ไม่มีคอเรสเตอรอล รวมทั้งยังมีฟอสฟอรัส โปรตีน แคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก ในอะชื่น และวิตามินบีรวม B1 B2