ข้าวอัลฮัมดูลิลละห์

ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ

ข้าวอัลฮัมดูลิลละห์

image

ประวัติพันธุ์

ข้าวพันธุ์อัลฮัมดูลิลละห์ หรือข้าวขาวสตูล เรียกสั้นๆว่า ข้าวอัลฮัม มาจากภาษายาวี อัลฮัม หมายถึง พระผู้เป็นเจ้า และลิลล๊ะ แปลว่า ขอบพระคุณ โดยนัยแล้วข้าวอัลฮัมจึงมีความหมายถึง พันธุ์ข้าวที่พระผู้เป็นเจ้าประทานผลผลิตตอบแทนความเหน็ดเหนื่อยของชาวนา จึงเรียกพันธุ์ข้าวนี้ว่า “อัลฮัมดูลิลละห์” ที่แปลว่าขอบคุณอัลเลาะห์ หรือขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า

            เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชาวมุสลิมทางภาคใต้ ปลูกในพื้นที่ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งชาวนาได้ปลูกตดต่อกันมานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเล่าขานกันว่าชาวไทยมุสลิมในจังหวัดสตูล ได้นำพันธุ์ข้าวอัลฮัมมาจากหมู่เกาะลังกาวี ในประเทศมาเลเซีย นำมาปลูกในพื้นที่ตำบลโคกพิลา บางคำบอกเล่ากล่าวไว้ว่า ข้าวอัลฮัมเป็นข้าวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซีย มีการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือนแลมีการกระจายไปถึงจังหวัดพัทลุง โดยเรียกว่า “ข้าวขาวสตูล” เป็นข้าวที่ทนต่อความเป็นกรดของดินทางภาคใต้ได้ดี นิยมปลูกเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน มีรสชาติหวานมันคุณค่าทางอาหารสูง อิ่มท้องนาน ปัจจุบันข้าวอัลฮัม เป็นที่นิยมในการบริโภคของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดสตูล มีการจำหน่ายในท้องถิ่นและประเทศมาเลเซีย

 

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้าที่ไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ของทุกปี และให้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวอัลฮัมดูลิลละห์เป็นข้าวขาวที่มีรสชาติหวานมัน หุงขึ้นหม้อ กินอิ่มท้องนาน มีอมิโลส 25% ข้าวหุงสุกร่วน นิยมทานในลักษณะข้าวกล้อง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ข้าวพันธุ์อัลฮัมดูลิลละห์ หรือข้าวขาวสตูล รสชาติหวานมัน หุงขึ้นหม้อ คุณค่าทางอาหารสูง อิ่มท้องนาน มีอมิโลส 25 เปอร์เซ็นต์ นิยมทานในลักษณะข้าวกล้อง

 

ด้านบน