ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของข้าว 12 สายพันธุ์

ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ

ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของข้าว 12 สายพันธุ์

image

ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของข้าว 12 สายพันธุ์

  1. แนวทางในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส

การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคช่วยสะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์และการตลาดต่อไป

การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสในครั้งนี้ ได้แบ่งการประเมินออกเป็น 6 ด้าน คือ

  • รูปลักษณ์ภายนอก
  • สี
  • กลิ่น
  • ความนุ่ม
  • รสชาติ
  • ความชอบรวม

โดยแต่ละด้านจะมีคะแนนตั้งแต่ 1-10 คะแนน นอกจากนี้ การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสครั้งนี้ ยังสอบถามถึงข้อความที่น่าสนใจและความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภคด้วย

ทั้งนี้ การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสครั้งนี้ เป็นการทดสอบกับกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร จึงไม่ใช่ตัวแทนของทั้งประเทศ

โดยการทดสอบครั้งนี้ มีพันธุ์ข้าวขาวเปรียบเทียบ 5 สายพันธุ์ ได้แก่

  • ข้าวมะรูนิ
  • ข้าวอัลฮัมดูลิลละห์
  • ข้าวหอมไชยา
  • ข้าวปกาอำปึล
  • ข้าวหอมมะลิ 105

พันธุ์ข้าวสี เปรียบเทียบ 5 สายพันธุ์ ได้แก่

  • ข้าวไรซ์เบอรี่
  • ข้าวซุปเปอร์ไรซ์
  • ข้าวหอมมะลิแดง
  • ข้าวหอมล้านนา
  • ข้าวขาหนี่

และมีพันธุ์ข้าวอื่นๆ ที่ทดสอบแยกกัน อีก 10 สายพันธุ์ ได้แก่

  • พันธุ์ข้าวเหนียว ได้แก่ ข้าวลืมผัว ข้าวเหนียวแดง ข้าวธัญญสิริน และข้าวเหนียวก่ำน้อย
  • พันธุ์ข้าวเจ้า ได้แก่ ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมนครชัยศรี ข้าวโสมมาลี ข้าวหอมนิล ข้าวบือพะโด่ะ ข้าวบือโคคี

 

  1. ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสข้าวสี

ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสข้าวสี (ผู้ทดสอบ 30 ราย) ปรากฏว่า

พันธุ์ข้าว

รูปลักษณ์ภายนอก

สี

กลิ่น

ความนุ่ม

รสชาติ

ความชอบรวม

ไรซ์เบอรี่

8.20

8.73

8.10

8.27

8.27

8.20

ซุปเปอร์ไรซ์

8.10

8.17

7.73

7.87

7.77

7.83

หอมมะลิแดง

8.14

8.10

7.73

7.70

7.73

7.57

หอมล้านนา

8.63

8.67

8.45

8.31

8.27

8.20

ขาหนี่

8.33

8.30

8.21

7.69

7.62

7.60

ผลการทดสอบจากตารางแสดงว่า ข้าวหอมล้านนา และข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นข้าวที่ผู้ทดสอบให้คะแนนคุณภาพทางประสาทสัมผัสดีที่สุด อันดับ 1 และ 2 ในเกือบทุกด้าน และมีคะแนนใกล้เคียงกันมาก แสดงให้เห็นว่า ผู้ทดสอบชอบข้าวไรซ์เบอรี่ และข้าวหอมล้านนา เป็นลำดับแรก ยกเว้น ในเรื่องกลิ่น ที่ผู้ทดสอบชอบข้าวขาหนี่เป็นลำดับที่ 2 รองจากข้าวหอมล้านนา

ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสของข้าวสีทั้ง 5 พันธุ์ สามารถแสดงเป็นกราฟได้ดังนี้

เมื่อสอบถามถึงราคาที่เหมาะสม (หรือความยินดีที่จะจ่าย) ข้าวสีในชนิดนั้นๆ พบว่า ผู้ทดสอบให้ราคาข้าวหอมล้านนาสูงที่สุดคือ 58.60 บาท/กก. ตามมาด้วยข้าวไรซ์เบอรี่ 56.93 บาท/กก. ข้าวซุปเปอร์ไรซ์ 57.17 บาท/กก. ข้าวขาหนี่ 55.63 บาท/กก. และข้าวหอมมะลิแดง 51.73 บาท/กก. ตามลำดับ

  1. ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสข้าวขาว

ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสข้าวขาว (ผู้ทดสอบ 32 ราย) ปรากฏว่า

พันธุ์ข้าว

รูปลักษณ์ภายนอก

สี

กลิ่น

ความนุ่ม

รสชาติ

ความชอบรวม

ข้าวมะรูนิ

6.59

7.34

6.09

6.50

6.31

6.59

ข้าวอัลฮัมดูลิลละห์

6.41

6.41

5.91

6.03

6.03

6.28

ข้าวหอมไชยา

7.84

7.75

7.69

7.91

8.06

8.13

ข้าวปกาอำปึล

7.41

7.16

7.22

8.22

7.97

8.00

ข้าวหอมมะลิ 105

8.33

8.25

7.50

8.44

8.56

8.10

 

ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคชอบข้าวหอมมะลิ และข้าวหอมไชยาเป็นลำดับแรก โดยข้าวหอมไชยามีคะแนนเหนือข้าวหอมมะลิในด้านกลิ่นและความชอบรวม (ส่วนในด้านอื่นๆ ข้าวหอมมะลิ 105 มีคะแนนการประเมินทางประสาทสัมผัสมาเป็นอันดับแรก) ส่วนข้าวปกาอำปึลมีคะแนนด้านความนุ่มมาเป็นอันดับที่ 2 รองจากข้าวหอมมะลิ และมีคะแนนความชอบรวมเป็นอันดับที่ 3 ส่วนข้าวมะรูนิ และข้าวอัลฮัมดูลิลละห์ ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองจากภาคใต้ ยังมีคะแนนไม่สูงนัก เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่ผู้ทดสอบในกรุงเทพมหานครไม่คุ้นเคย

ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสสามารถแสดงเป็นกราฟได้ดังนี้

 

 

และเมื่อสอบถามถึงราคาที่เหมาะสมหรือความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภค พบว่า ผู้ทดสอบยินดีจ่ายให้ข้าวหอมมะลิมากที่สุดที่ 57.25 บาท/กก. ตามมาด้วยข้าวปกาอำปึล 53.34 บาท/กก. ข้าวหอมไชยา 54.17 บาท/กก. ข้าวมะรูนิ 43.47 บาท/กก. และข้าวอัลฮัมดูลิลละห์ 42.33 บาท/กก. ตามลำดับ ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส

 

ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส จำแนกตามสายพันธุ์

 

1. ข้าวลืมผัว เพชรบูรณ์ (จำนวนผู้ทดสอบ 24 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • รูปลักษณ์ภายนอก (8.13 คะแนน)
  • คุณภาพโดยรวม (8.09 คะแนน)

จุดที่สามารถนำไปปรับปรุง คือ ความนุ่ม (6.96 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาด คือ สารต้านอนุมูลอิสระ

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภค เท่ากับ 63.06 บาท/กก.
 

2. ข้าวเหนียวแดง (จำนวนผู้ทดสอบ 34 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • คุณภาพโดยรวม (9.00 คะแนน)
  • รสชาติ (8.96 คะแนน)
  • สี (8.71 คะแนน)
  • รูปลักษณ์ภายนอก (8.57 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาด ได้แก่ สารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามิน E

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภคเท่ากับ 79.84 บาท/กก.

 

3. ข้าวเหนียวก่ำน้อย (จำนวนผู้ทดสอบ 28 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • สี (8.62 คะแนน)
  • รูปลักษณ์ภายนอก (8.19 คะแนน)
  • รสชาติ (7.81 คะแนน)

จุดที่สามารถนำไปปรับปรุง คือ ความนุ่ม (7.15 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาด คือ คุณค่าทางโภชนาการ

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภคเท่ากับ 82.63 บาท/กก.

 

 

4. ข้าวธัญสิริน (จำนวนผู้ทดสอบ 32 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • รสชาติ (8.50 คะแนน)
  • สี (8.28 คะแนน)
  • ความชอบรวม (8.28 คะแนน)

จุดที่สามารถนำไปปรับปรุง

  • กลิ่น (7.72 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาด คือ ชื่อพันธุ์พระราชทาน

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภคเท่ากับ 55.88 บาท/กก.


5. ข้าวสังข์หยด (จำนวนผู้ทดสอบ 24 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • คุณภาพโดยรวม (8.17 คะแนน)
  • รสชาติ (8.11 คะแนน)

จุดที่สามารถนำไปปรับปรุง

  • รูปลักษณ์ภายนอก (7.06 คะแนน)
  • ความนุ่ม (7.28 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาดคือ ชะลอวัย

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภค เท่ากับ 67.21 บาท/กก.


6. ข้าวเจ้าหอมนครชัยศรี (จำนวนผู้ทดสอบ 22 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • รสชาติ (8.07 คะแนน)
  • คุณภาพโดยรวม (8.00 คะแนน)
  • ความนุ่ม (8.00 คะแนน)

จุดที่สามารถนำไปปรับปรุงคือ กลิ่น (7.00 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาด คือ สายพันธุ์พื้นเมือง

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภค เท่ากับ 53.00 บาท/กก.

 

 

7. ข้าวเจ้าโสมมาลี สกลนคร (จำนวนผู้ทดสอบ 24 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • รสชาติ (8.06 คะแนน)
  • คุณภาพโดยรวม (8.06 คะแนน)
  • ความนุ่ม (7.89 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาดคือ นุ่ม หอม เหนียว

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภค เท่ากับ 60.90 บาท/กก.

 

8. ข้าวหอมนิล (จำนวนผู้ทดสอบ 25 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • รสชาติ (8.87 คะแนน)
  • คุณภาพโดยรวม (8.47 คะแนน)
  • กลิ่น (8.47 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาด คือ โปรตีน

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภค เท่ากับ 64.00 บาท/กก.

 

9. ข้าวพันธุ์บือพะโด่ะ (จำนวนผู้ทดสอบ 35 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • คุณภาพโดยรวม (8.50 คะแนน)
  • รสชาติ (8.27 คะแนน)
  • ความนุ่ม (8.20 คะแนน)

จุดที่สามารถนำไปปรับปรุง คือ กลิ่น (7.20 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาด คือ พันธุ์ของชาวปกากะญอ

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภคเท่ากับ 54.54 บาท/กก.

 

10. ข้าวบือโคคี (จำนวนผู้ทดสอบ 32 ราย)

จุดเด่นของคุณภาพทางประสาทสัมผัส

  • คุณภาพโดยรวม (7.77 คะแนน)
  • รสชาติ (7.50 คะแนน)

จุดที่สามารถนำไปปรับปรุง

  • กลิ่น (6.95 คะแนน)

คำสำคัญในการสื่อสารการตลาด เหนียวหนึบ

ความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภคเท่ากับ 53.58 บาท/กก.



เดชรัตน์  สุขกำเนิด
04 มกราคม 2563

ด้านบน